0

TECHNIQUE


Batik Tulis

– Batik Tulis (writing): Traditional batik making is characterized by the wax-resist dying technique in which melted beeswax is applied to fabric by Canting. The melted beeswax is done by melting paraffin, beeswax, and rosin together. Next, we fix the color by Sodium Silicate. After fixing, leave it for at least 8 hours before bringing the candle out to boil.

– ผ้าบาติกลายเขียน : การทำผ้าบาติกแบบดั้งเดิมมีลักษณะเฉพาะ คือการใช้เทียนขี้ผึ้งที่ถูกทำให้ละลายแล้ว นำไปเขียนบนเนื้อผ้าเผื่อกั้นสีแต่ละสีเวลาย้อม ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “จันติ้ง” 

เทียนบาติกที่นำมาใช้ในการเขียนมีส่วนผสมของพาราฟิน, ขี้ผึ้ง และยางสน ผสมเข้าด้วยกัน

หลังจากผ่านกระบวนการย้อมสีแล้วจะฟิกซ์สีเพื่อกันสีตกด้วยโซเดียมซิลิเกตเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ก่อนนำไปต้มเทียนออก

 




Block Printed Batik

– Block Printed Batik : In our studio, we used Zinc, Brass or Wood for making Blocks. All of our blocks were handmade by ancient technique in Southern Thailand. 

– เทคนิคพิมพ์ผ้าบาติกด้วยบล็อก : แม่พิมพ์สำหรับพิมพ์เทียนสามาารถทำได้หลากหลายวัสดุ แต่สำหรับแบรนด์ของเรา วัสดุที่ใช้ในการทำแม่พิมพ์คือ สังกะสี, ทองเหลือง หรือ ไม้ แม่พิมพ์ของเราทุกชิ้นทำขึ้นด้วยมือโดยช่างทำแม่พิมพ์โบราณในทางใต้ของประเทศไทย




Cracking

– Cracking : The process of Cracking, we melted reused candle that we got from the temple and then coating all of fabric with the candle. When finished coating let crack the candle and start dyeing. After dyeing, used boiled water to melt all of the wax.

– เทคนิคการแครก : ขั้นตอนของการทำลายแครก ก็ตรงตามชื่อเลยค่ะ อย่างแรกเริ่มจากการนำเทียนไปหลอมละลายก่อน โดยเทียนที่เราใช้ในการทำแครกเป็นเทียนที่เหลือใช้จากทางวัด ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์จากเทียนในส่วนนี้แล้ว หลังจากที่เทียนละลายแล้วเรียบร้อยก็นำไปเคลือบบนผ้า จากนั้นจึงสร้างลวดลายบนเทียนที่แตก แล้วจึงย้อมสี




Natural dyeing

– Natural dyeing : Natural-dye is a primitive dyeing technique found in many parts of the world. In this technique, I used Coconut because it is the waste from the coffee shop close to my house. So I think I should do something to make waste not just the waste. And this is the product that I made from Coconut residue. 

– การย้อมสีธรรมชาติ : การย้อมสีธรรมชาติเป็นเทคนิคการย้อมสีแบบดั้งเดิมที่พบได้ในหลากหลายประเทศ โดยวัสดุที่ใช้ในการย้อมก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในระแวกนั้นๆ ในกรณีนี้เราเลือกใช้ “มะพร้าว” เนื่องจากเป็นวัสดุที่เหลือจากร้านกาแฟใกล้บ้าน ถ้าเราไม่ได้ใช้ก็ต้องนำเอาไปทิ้งอยู่ดี จึงเกิดความคิดที่ว่าเราน่าจะทำอะไรสักอย่างที่ทำให้ของเหลือไม่กลายไปเป็นขยะ และนี่คือสีย้อมที่ได้จากกากมะพร้าวที่เราทดลองค่ะ